กราฟสมรรถนะ เลือกจุดทำงานที่เหมาะสม ของพัดลมโบลเวอร์

กราฟสมรรถนะ เลือกจุดทำงานที่เหมาะสม ของพัดลมโบลเวอร์

รับชม/รับฟัง คลิก EP.เทคนิคการเลือกพัดลมฟาร์ม พัดลมอุตสาหกรรม ไปใช้ง่ายๆ EuroVent Blower Official

 

กราฟสมรรถนะ เลือกจุดทำงานที่เหมาะสม ของพัดลมโบลเวอร์

• ขณะที่พัดลมทำงาน จะทำให้อากาศเกิดการเคลื่อนที่ได้ด้วยค่าความกดดันที่เกิดขึ้น เมื่ออากาศเคลื่อนที่ ออกไปได้ด้วยระยะทางที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้ความกดดันลดลง ถ้านำค่าความกดดันในช่วงต่างๆ มาเขียนกราฟเทียบกับอัตราการไหลของอากาศที่ได้ในช่วงความกดดันนั้นๆ ถ้าค่าความกดดันดังกล่าวเป็นค่าความกดดันรวมของระบบ


 เมื่อนำค่าความกดดันรวมที่ลดลงของระบบ มาหักออกจากค่าความกดดันความเร็ว จะได้กราฟอีกเส้นซึ่งแสดงถึงความดันสถิตของระบบ เราสามารถนำกราฟดังกล่าวไปใช้ในการเลือกจุดทำงานที่เหมาะสมที่ของพัดลมชนิดนั้นได้ ดังรูป


รูป.การหาจุดทำงานของพัดลมที่เหมาะสมจากกราฟคุณลักษณะของ

ระบบพัดลมแบบหมุนเหวี่ยง ชนิดใบพัดโค้งไปข้างหลัง ขนาด 27 นิ้ว ที่ 1,080 รอบต่อนาที


• เนื่องจากปริมาณอากาศที่ได้จากพัดลมตามที่กำหนดจากผู้ผลิต ปกติแล้วจะทำการทดสอบ ณ สภาวะแวดล้อมมาตรฐาน เช่น ที่อุณหภูมิ 15 °C มีความกดดันบรรยากาศแวดล้อมเท่ากับ 1 บาร์ และความสูงเทียบเท่ากับระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นต้น ซึ่งสภาวะดังกล่าวอาจแตกต่างจากสภาวะจริงที่ติดตั้งใช้งานจึงทำให้สภาวะการใช้งานไม่เป็นไปตามข้อกำหนด


• ดังนั้นสมรรถนะของพัดลมจะแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่างๆ อาทิ อุณหภูมิ ความเร็วรอบ และความหนาแน่นของอากาศ

 

1. กราฟสมรรถนะของพัดลมแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งไปข้างหน้า

  

รูป.กราฟแสดงสมรรถนะของพัดลมแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งไปข้างหน้า


• จากแสดงให้เห็นว่า เมื่อเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรที่เปิดกว้างมีค่าสูงขึ้นจะทำให้ค่ากำลังงานที่ป้อนให้เพลาของพัดลมมีค่าสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งมีผลทำให้มอเตอร์ของพัดลมทำงานเกินกำลัง


• ในขณะที่ความต้านทานของระบบมีค่าลดลง ดังนั้น จึงไม่ควรใช้พัดลมชนิดนี้กับระบบที่มีอัตราการไหลของอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช่วงที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของพัดลมชนิดนี้ คือ ช่วงเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรที่เปิดกว้างประมาณ 30 – 50% ซึ่งจะทำให้การทำงานของพัดลมมีค่าประสิทธิภาพสูงสุด เส้นกราฟค่าความดันสถิต จะมีช่วงการทำงานของพัดลมที่ไม่มีความเสถียรภาพคือช่วงเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรที่เปิดกว้างในช่วงไม่เกิน 40% ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ปริมาตรที่เปิดกว้างให้อากาศเข้าสู่ตัวเรือนของพัดลมในช่วงนี้

 

2.กราฟสมรรถนะของพัดลมแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งไปข้างหลัง

  

รูป.กราฟแสดงสมรรถนะของพัดลมแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งไปข้างหลัง


• จากรูปจะเห็นได้ว่าช่วงที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของพัดลมชนิดนี้คือช่วงเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรที่เปิดกว้างให้อากาศเข้าสู่ตัวเรือนของพัดลม มีค่าประมาณ 50 – 65% ซึ่งจะทำให้การทำงานของพัดลมชนิดนี้มีประสิทธิภาพสูงสุด ค่าประสิทธิภาพของพัดลมจะมีค่าสูงสุดเมื่อใช้กำลังงานในการขับเพลาของพัดลมสูงด้วยเช่นกัน

• พัดลมชนิดนี้จะไม่มีลักษณะที่มอเตอร์จะทำงานเกินกำลังและไม่มีช่วงการทำงานของพัดลมที่ไม่มีเสถียรภาพ

 

3. กราฟสมรรถนะของพัดลมแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดตรง


• กราฟสมรรถนะของพัดลมชนิดนี้ จะเหมือนกับกราฟสมรรถนะของพัดลมชนิดใบพัดโค้งไปข้างหน้า

กล่าวคือเส้นกราฟกำลังงานของพัดลมจะมีค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าค่าความกดดันของระบบจะลดลงก็ตาม แต่

• ความเร็วของอากาศที่ไหลผ่านตัวเรือนพัดลมชนิดนี้จะมีค่าต่ำกว่าพัดลมชนิดใบพัดโค้งไปข้างหน้า

 

4. กราฟสมรรถนะของพัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกน (Axial Flow Fans)

  

รูป.กราฟแสดงสมรรถนะของพัดลมแบบอากาศไหลตามแนวแกน


• ในรูปจะเห็นว่าเส้นกราฟของเฮดสถิตและเฮดรวมของระบบจะลดลงและเพิ่มขึ้น ในช่วงเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเปิดให้อากาศเข้าสู่ตัวเรือนพัดลมมีค่าอยู่ประมาณ 30 – 50% ถ้าพัดลมชนิดนี้ทำงานอยู่ในช่วงดังกล่าวจะก่อให้เกิดความไม่เสถียรภาพขึ้นภายในระบบ และช่วงที่เหมาะสมสำหรับการทำงานของพัดลมก็คือช่วงเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรที่เปิดกว้างประมาณ 55 – 75% ซึ่งจะทำให้การทำงานของพัดลมมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถขับเคลื่อนอากาศได้ปริมาณที่มาก และใช้กำลังงานในการขับเคลื่อนไม่มากจนเกินไป เส้นกราฟการทำงานของพัดลมจะค่อนข้างแบนราบโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในช่วงการทำงานที่มีค่าเปอร์เซ็นต์ของปริมาตรเปิดกว้างประมาณ 40% นั่นคือกำลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อนพัดลมภายในช่วงดังกล่าวจะมีค่าค่อนข้างคงที่


............................................................

 สอบถามข้อมูลสินค้า พูดคุยกับวิศวกรแบบ 1 : 1 ได้เลยที่ช่องทาง LineOA : @euroventblower หรือคลิกลิงค์ https://lin.ee/jPbzxsB
• บริการเซอร์วิส ติดตั้งพัดลม โบลเวอร์ทุกชนิดซ่อมบำรุงพัดลม โบลเวอร์ทุกชนิด,  พูดคุยกับทีมวิศวกรเซอรวิสแบบ 1 : 1 ได้เลยที่ช่องทาง LineOA : @tnservice หรือคลิกลิงค์  https://lin.ee/BtsLaub

............................................................

EuroVent - Expertise in Fan & Blower

_

follow us

        

ข่าวสารอื่นๆ